สาเหตุและลักษณะอาการ
โดยส่วนมากอาการปวดกล้ามเนื้อจากโรคออฟฟิศซินโดรม มักพบได้บ่อยในคนทำงานออฟฟิศเป็นหลัก เพราะพฤติกรรมการทำงานต้องนั่งในอิริยาบถเดิมซ้ำๆ ส่งเสริมการสร้างจุดกดเจ็บ (Trigger point) บนมัดกล้ามเนื้อทำให้เกิดอาการปวดและอักเสบตามมาในที่สุด
อาการออฟฟิศซินโดรม ไม่ได้มีแค่อาการปวดคอบ่าไหล่เพียงเท่านั้น บางรายหากเป็นรุนแรงจะมีอาการปวดไมเกรน วิงเวียนศีรษะบ่อยครั้ง หูอื้อ ตาพร่ามัว บางรายมีอาการคล้ายภาวะน้ำในหูไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นภาวะที่ต้องเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน นอกจากนี้การใช้งานในทางเดิมซ้ำๆ จะส่งผลให้กล้ามเนื้อและพังผืดบางจุดเกิดการอักเสบมากขึ้นได้ ที่มักพบได้บ่อยคือ มีการใช้งานข้อมือติดต่อกัน จนเกิดอาการนิ้วล็อค ปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ(De Quervain’s disease) อาการชาปลายนิ้วเวลาใช้งาน เป็นต้น เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นภาวะออฟฟิศซินโดรมทั้งสิ้น
ระดับความรุนแรงของการอาการ
ระดับความรุนแรงของอาการสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
- ระยะที่ 1 คนไข้จะมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเป็นๆหายๆสามารถใช้การพักผ่อนออกกำลังกายหรือยืดเหยียดกล้ามเนื้อก็สามารถหายเองได้
- ระยะที่ 2 อาการปวดดล้ามเนื้อเริ่มส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน มีอาการปวดได้ง่ายและนานขึ้นอาจทำให้การนอนแย่ลงรู้สึกนอนไม่เต็มอิ่มเหนื่อย/เพลียง่ายขึ้นหายใจไม่เต็มอิ่มระบบการย่อยเริ่มอาการผิดปกติ
เช่น ท้องอืดหรือเรอบ่อยต้องอาศัยการทานยาคลายกล้ามเนื้อหรือการกดนวดเพื่อช่วยรักษาอาการดังกล่าว - ระยะที่ 3 เป็นระยะที่คนไข้มีอาการปวดกล้ามเนื้อรุนแรง กล้ามเนื้อจะอ่อนแอและอักเสบเร็วกว่าปกติจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันในทุกๆด้านคนไข้มักมาด้วยอาการปวดศีรษะหูอื้อตาพร่ามัวรู้สึกโคลงเคลงทรงตัวไม่ดี บางรายที่รุนแรงมากๆอาจมี อาการชาครึ่งซีก หรือมีอาการปวดศีรษะรุนแรงกลายเป็น โรคไมเกรน ได้เพราะกล้ามเนื้อในระยะนี้ไวต่อการกระตุ้นนั่นเอง
การป้องกันการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม
การป้องกันที่ดีที่สุดเริ่มจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานกล้ามเนื้อให้เหมาะสม เช่น ลดระยะเวลาในการใช้งานกล้ามเนื้อลง ควรพักอย่างน้อยทุก 1 ชั่วโมง การปรับสิ่งแวดล้อมของโต๊ะทำงานให้เหมาะสมกับสรีระของตัวเอง การพักผ่อนให้เพียงพอ และที่สำคัญคือหมั่นออกกำลังกาย ยืดเหยียดกล้ามเนื้ออยู่สม่ำเสมอ หากการปรับพฤติกรรมยังไม่ช่วยบรรเทาอาการได้ ให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคออฟฟิศซินโดรมโดยทันที
การป้องกันการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม
- กดจุดเจ็บ (Acupressure) เป็นการใช้นิ้วกดลงไปบนก้อน โดยต้องทำเป็นจังหวะ หน่วง-เน้น-นิ่ง โดยแรงที่ใช้จะแตกต่างไปตามแต่ละบุคคล โดยการกดลักษณะนี้สามารถทำให้ก้อนคลายได้เร็ว
เนื่องจากสามารถกระตุ้นการไหนเวียนเลือด เพิ่มอออกซิเจนให้กับกล้ามเนื้อได้ - ครอบแก้วกรอกโลหิต (Wet cupping)
- ปรับโครงสร้างร่างกาย
- รักษาต่อเนื่องสัปดาห์ละ 1 ครั้ง (6-12 สัปดาห์)