โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

กระดูกทับเส้นคืออะไร

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นโรคที่เกิดจากตัวหมอนรองกระดูกเกิดการปลิ้นมากดทับเส้นประสาททำให้เส้นประสาทและกล้ามเนื้อเกิดการอักเสบและอ่อนแรง

สาเหตุการเกิดหมอนรองกระดูก

โดยสาเหตุของการกดทับมีด้วยกันหลายปัจจัย แต่ที่พบบ่อยที่สุดคือเกิดจากการเสื่อมของตัวหมอนรองกระดูก โดยปกติแล้วตัวหมอนรองกระดูกจะมีลักษณะเป็นกระดูกอ่อนที่มีเจลใสๆ อยู่ข้างในพอนานวันเข้า เปอร์เซ็นต์ของน้ำในหมอนรองกระดูกสันหลังก็จะลดลง ทำให้หมอนรองกระดูกแคบลงเรื่อยๆ เกิดการกดทับของเส้นประสาทในบริเวณใกล้เคียง นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ  ได้แก่ การใช้งานหลังไม่ถูกวิธี ยกของหนักๆ อยู่เป็นประจำ และการประสบอุบัติเหตุที่มีผลต่อข้อกระดูกสันหลังโดยตรง

ลักษณะอาการของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

  1. ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบได้ง่ายเวลาใช้งาน
  2. ปวดตื้อๆ ปวดร้าวชาลงแขนหรือขา บางรายมีอาการเหน็บชาปลายมือปลายเท้า หรือรู้สึกแปล๊บๆ คล้ายไฟฟ้าช็อต
  3. มีอาการกล้ามเนื้อลีบหรืออ่อนแรงร่วมด้วย
  4. มักมีอาการปวดหรือชามากขึ้นเวลาใช้งานไปได้สักระยะ
  5. นวดคลายกล้ามเนื้อทั่วไปไม่ดีขึ้น

 

ระดับความรุนแรงของการอาการ

ระดับความรุนแรงของอาการ จะขึ้นอยู่กับระดับการกดทับของเส้นประสาท โดยจะพิจารณาได้ด้วยการทำ MRI

ระดับที่ 1 : Bulging Disc

คือ การเคลื่อนของหมอนรองกระดูกมาทางด้านหลังไม่เกิน 3 มิลลิเมตร และตัว annulus fibrosus ยังปกติ

ระดับที่ 2 : Protrusion

คือ การเคลื่อนของหมอนรองกระดูกมาทางด้านหลังมากกว่า 4 มิลลิเมตร และตัวเจลภายในอยู่ชิดกับขอบนอกของ annulus fibrosus แต่ยังไม่ทะลุออกมา ระยะนี้ผู้ป่วยจะปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ เริ่มมีอาการร้าวชาลงไปปลายมือ ปลายเท้า

ระดับที่ 3 : Extrusion

คือ มีการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกมาทางด้านหลัง มากกว่า 8 มิลลิเมตร และตัวเจลภายในหมอนรองทะลุออกมาจาก annulus fibrosus แต่ก็ยังคงมีการเชื่อมติดกันอยู่ ระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการปวดและชาตลอดเวลา

ระดับที่ 4 : Sequestration

คือ ภาวะที่เจลภายในหมอนรองกระดูกไหลออกมาจาก annulus fibrosus 100% ต้องเข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัดเท่านั้น

แนวทางการรักษาของจิรเวชคลินิก

ขั้นตอนการรักษา

โปรแกรมการรักษา

  1. ตรวจร่างกาย และประเมินการกดทับจากผล MRI
  2. กดจุด Trigger point เพื่อลดอาการปวดและคลายกล้ามเนื้อ ด้วยเทคนิคเฉพาะของทางคลินิกจะสามารถกดลงถึงกล้ามเนื้อมัดลึกได้ สามารถกระตุ้นการไหลเวียนเลือดได้ดีกว่าการนวดแบบทั่วไป
  3. ปรับโครงสร้างร่างกาย เพื่อลดการกดทับของตัวหมอนรองกระดูก และส่งเสริมให้โครงสร้างเกิดความสมดุล
  4. ครอบแก้วกรอกโลหิต (Wet cupping) เพื่อลดการอักเสบ กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตสามรถทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวได้ดี
  5. รักษาต่อเนื่องสัปดาห์ละ 1 ครั้งเป็นเวลา 6-12 สัปดาห์ (ขึ้นอยู่กับอาการแต่ละบุคคล)
แชร์บทความนี้